Hi, Welcome to my blog, enjoy reading.
RSS

วันจันทร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ทำไงดี หากมีเพื่อนร่วมงานแย่ๆ



ทำไงดีหากมีเพื่อนร่วมงานแย่ๆ (ไทยรัฐ)

เมื่อต้องทำงานร่วมกับผู้คนมากหน้าหลายตา ก็ย่อมมีบ้างแหละที่ต้องเจอกับเพื่อนร่วมงานที่มีทั้งดีและไม่ดีคละเคล้ากัน ไป แล้วคิดดูสิว่ามนุษย์นั้นไซร้มีหลายประเภทและหลายจำพวกจะตาย หากใครมีเพื่อนร่วมงานดีก็รอดตัวไป เพราะเชื่อเลยว่า เค้าจะทำตัวเป็นเพื่อนทั้งในยามทุกข์และยามสุขให้แก่คุณได้แน่ๆ ส่วนเพื่อนร่วมงานที่แย่ๆ ก็รีบถอยห่างออกมาจากพวกเค้าดีกว่าไหม?

งั้น เรามาดูสถานการณ์ที่อาจทำให้เกิดปัญหากับเพื่อนร่วมงานได้ แล้วมาหาทางแก้ไขกันเถอะ ดังนี้

1. เจอเพื่อนร่วมงานที่เอา แต่พูดโทรศัพท์ส่วนตัวทั้งวี่ทั้งวัน

โอ๊ย ไอ้เรื่องพูดคุยทางโทรศัพท์ส่วนตัวน่ะ ใครๆ เค้าก็ทำกันทั้งนั้นแหละ แต่ควรมีขอบเขตของการคุยโทรศัพท์มั่งสิจ๊ะ ไม่ใช่คุยโทรศัพท์ทีนานเป็นชาติ แถมยังส่งเสียงไปรบกวนสมาธิชาวบ้านอีก ฉะนั้น ถ้าเผื่อคุณมีเพื่อนร่วมงานที่ชอบจี๋จ๋ากะแฟน หรือกำลังอยู่ในห้วงอารมณ์ของการทะเลาะเบาะแว้งกันตามประสาคู่รักคู่กัดละก็ ถ้าคุณอยากตัดรำคาญจากเสียงพูดคุยของพวกเค้า คงต้องหาฉากมากั้นซะแล้วล่ะ เพื่อว่าเสียงของพวกเค้าจะได้ไม่มาทำให้คุณเสียสมาธิตามไปด้วยไง

2. ถ้าเจอเพื่อนร่วมงานนินทาคุณล่ะ

ฮ้า ถ้าขืนมีเพื่อนร่วมงานที่ชอบนินทาว่าร้ายคนอื่นจนคุณเองก็เคยตกเป็นเหยื่อมา แล้ว หากเค้าเม้าท์ถึงคุณไปในทางเสียๆ หายๆ และไม่เป็นความจริงเอาซะเลยละก็ มีทางเลือกให้คุณได้จัดการกับพวกช่างเม้าท์ปากร้ายและใจร้ายเหล่านี้ ด้วยการ…

- แก้ข่าวที่ไม่เป็นธรรมสำหรับคุณซะ เพราะมีนะ ที่ผู้ฟังบางคนหลงเชื่อขี้ปากที่ว่ากล่าวคุณอย่างไม่เป็นธรรม แถมเข้าใจคุณผิดจากขาวเป็นดำไปเลยก็ได้ คุณจึงต้องพึ่งพาตัวเองด้วยการแก้ข่าวที่ผิดๆ ให้มันถูกต้องซะ หรือ..

- เดินเข้าไปหาเพื่อนร่วมงานที่นินทาคุณซะเลย แล้วถามเค้าตรงๆว่า มีเรื่องไม่พอใจอะไรชั้นรึ ถึงต้องปั้นเรื่องเท็จเกี่ยวกับชั้นแล้วเอาไปพูดให้ชาวบ้านชาวช่องเค้าเข้า ใจผิดน่ะ… นี่แน่ะ ให้เจ้าเพื่อนร่วมงานตัวแสบเจอสไตล์ขวานผ่าซากแบบนี้มั่งก็ดี จะได้รู้ดำรู้แดงกันไปเลยว่า ทำไมเค้าต้องปั้นน้ำเป็นตัว แล้วเอาข้อมูลผิดๆ มานินทาคนอื่นด้วย ปากแบบนี้ระวังตกนรกนะเฟ้ย

3. ถ้าเจอเพื่อนร่วมงานช่างติ

ตินั่น ตินี่ ติโน่น อะไรนิดอะไรหน่อยก็เอ่ยปากว่าขึ้นมาแล้ว แถมไม่ใช่การติเพื่อก่อ แต่เป็นการติเพื่อทำลายน้ำใจกันมากกว่าละก็ หยั่งงี้ หาทางหลีกเลี่ยงอย่ามายุ่งเกี่ยวกันซะดีกว่า แต่ถ้าเลี่ยงไม่ได้ แถมเค้ายังชอบพูดประชดประชัน ประเภทติเพื่อทำให้คุณรู้สึกต่ำต้อย หรือถูกดูถูกดูแคลนคุณละก็ สักวันคุณก็พูดสวนเค้ากลับไปสิว่า ให้ส่องกระจกมองดูตัวเองก่อนที่จะติเตียนคนอื่นเถอะ! จะได้รู้เซี้ยะมั่ง ว่าเค้าก็ไม่ได้ดีไปกว่าชาวบ้านนักหรอก ดังนั้น เมื่อเราทำงานร่วมกะใคร ทางที่ดีควรถนอมน้ำใจกันไว้ดีกว่า ขยันสะสมมิตร ดีกว่าสร้างศัตรูนะฮ้า




ขอขอบคุณข้อมูลจาก

วันอาทิตย์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2553

ขอบเขต.. ที่จะรักได้




ความรักที่เกิดขึ้น . . .
ท่ามกลางความเหงานั้น เกิดขึ้นได้ง่าย
แต่การจะสานความรักต่อ. . .
ให้ยืนยาวได้นั้น เป็นเรื่องยาก

ความเหงานั้น . . . มันโดดเดี่ยว
เปลี่ยนคนอ่อนไหว . . .
ให้กลายเป็นคนอ่อนแอได้
จนบางครั้ง . . .ต้องพยายามหาที่ยึดหัวใจ
ไม่ให้เคว้ง ไปตามแรงกระทบของชีวิต

และบางครั้ง . . .
ก็อาจเผลอ ไปยึดใครสักคน. . .ที่ไม่อาจจะยึดได้
เพราะเหตุผล แห่งความเป็นไปไม่ได้ ร้อยพันประการ . . .

แต่ . . . เมื่อความรักได้เกิดขึ้นมาแล้ว
ไม่ว่าจะอยู่ร่วมได้ หรือไม่ . . .
มีสิทธิ์ครอบครอง หรือไม่ . . .
ก็ไม่อาจที่จะ . . . ห้ามไม่ให้รู้สึกรักได้
เมื่อในที่สุดแล้ว . . .ห้ามไม่ได้
ก็อาจจะมีอีก ทางเลือกคือ . . .
การปล่อยหัวใจให้ได้ รั ก

แต่ . . .
ต้องหาที่ยืน ที่เหมาะสมให้กับตัวเอง
หาบริเวณ ให้ตัวเองให้ได้
และหักห้ามใจไม่ให้เตลิดก้าวไปไกล
จากที่ที่ตัวเองต้องอยู่ . . .

นอกจาก . . .กล้าที่จะยืนอยู่ตรงนั้นแล้ว
ก็ต้องกล้าที่จะเชื่อมั่นว่า . . .
เราต้องยืนอยู่ตรงนั้นให้ได้
และต้องไม่ไปไกลกว่านี้ . . .
อยากอยู่ตรงไหนก็ได้ . . .
แต่ต้องอยู่ในขอบเขต รักได้เท่านั้น
อย่า! ไปเผลอทำร้ายใครให้เจ็บปวด . .


จาก.....http://variety.teenee.com/foodforbrain/23523.html

วันพุธที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2553

เตือนอันตราย ฝนกรด!!

..........หลากผลกระทบต่อมนุษย์...สิ่งแวดล้อม



แม้ตอนนี้พื้นที่โดยรอบเมืองหลวง จะเริ่มมีลมหนาวพัดผ่านมาให้สดชื่นเย็นใจ ทั้งในยามเช้ามืด และพลบค่ำ... แต่ตามภาคต่าง ๆ โดยเฉพาะภาคใต้ของประเทศยังคงมีฝนตกอย่างต่อเนื่อง สร้างความชุ่มฉ่ำให้ทั้งผืนดิน และผู้คน ที่สัญจรไปมา

ยามฝนตกคราใด ภาพกิจกรรมที่เรามักจะพบเห็น จนชินตาย้อนไปสมัยเมื่อสิบปียี่สิบปีก่อน นอกจากการวิ่งเล่นน้ำฝนอย่างสนุกสนานของเด็ก ๆ แล้ว คงหนีไม่พ้นภาพของพ่อ แม่ ลุง ป้า น้า อา พากันเตรียมโอ่ง เตรียมกะละมังเพื่อคอยรองน้ำฝนเก็บไว้ใช้อุปโภคบริโภค ซึ่งแน่นอนว่า น้ำฝนที่รองได้ ยิ่งเก็บไว้นานวัน เมื่อลองตักมาชิมดู จะมีรสชาติหวาน ดื่มแล้วชื่นใจ...

แต่ปัจจุบัน ด้วยความแปรเปลี่ยนสภาวะสิ่งแวดล้อม การเพิ่มขึ้นของภาวะมลพิษในอากาศทำให้เกิดภาวะที่เรียกว่า “ฝนกรด” ขึ้นซึ่งคำคำนี้หลายคนคงเคยได้ยินและทราบกันมาบ้างแล้ว ว่าเกิดจากสาเหตุใดรวมทั้งมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และสุขภาพของเราอย่างไร บ้าง แต่อย่างไรก็ตามเชื่อว่ายัง มีอีกหลายคนที่ยังไม่ทราบถึงวิธีป้องกันแก้ไขภาวะฝนกรดว่าจะทำได้อย่างไร...??

ศากุน เอี่ยมศิลา นักวิชาการสาธารณสุข ผู้เชี่ยวชาญกองสุขาภิบาลอาหารและน้ำ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ให้ความรู้ว่า ปกติแล้วฝนที่ตกลงมาจะมีสภาพความเป็นกรดอ่อน ๆ เล็กน้อยอยู่แล้วซึ่งไม่ได้เป็นอันตรายต่อมนุษย์มากนัก โดยจะมีค่าความเป็นกรด-ด่างหรือค่าพีเอช (ph) ประมาณ 5.6 ถือเป็นตัวเลขมาตรฐานของน้ำฝน





แต่สาเหตุที่ทำให้เกิด “ฝนกรด” (Acid Rain) คือ การที่มีแหล่งโรงงานอุตสาหกรรมเกิดขึ้นมากมาย ตามท้องถนนมีรถจำนวนมากจอดติดสัญญาณไฟจราจรก่อให้เกิดการเผาไหม้เชื้อเพลิงเครื่องยนต์และโรงงานต่าง ๆ มีการปล่อยก๊าซซัลเฟอร์ได ออกไซด์ และก๊าซออกไซด์ ของไนโตรเจน เข้าสู่ชั้นบรรยากาศจำนวนมากกลายเป็นกรดซัลฟิวริก และกรดไนตริก ประกอบกับมีตึกสูง บ้านช่องเรียงรายแออัดบดบังอากาศทำให้ไม่มีอากาศถ่ายเท เมื่อฝนตกลงมาสารพิษเหล่านี้จะรวมตัวกันกลายเป็นฝนกรดที่มีค่าพีเอชต่ำกว่า 4 และ ตกลงมายังผิวโลกกลายเป็นฝนกรด โดยก๊าซออกไซด์ของซัลเฟอร์และก๊าซออกไซด์ของไนโตรเจน ส่วนใหญ่ถูกปล่อยออกสู่บรรยากาศจากกิจกรรมของมนุษย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเผาเชื้อเพลิงฟอสซิลประเภทต่าง ๆ เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าและพลังงานมาให้มนุษย์ใช้ในทุกวันนี้

จากข้อมูลการสำรวจพื้นที่ทั่วทุกภูมิภาคของประเทศไทยของกรมควบคุมมลพิษในปี 2548 พบว่า พื้นที่ที่มีความเสี่ยงในการเกิดฝนกรดนั้นต้องเป็นพื้นที่ที่มีโรงงานอุตสาหกรรมและการจราจรหนาแน่น ซึ่งตามต่างจังหวัดนั้นส่วนใหญ่จะมีค่าไม่เกินกว่าที่กำหนดจึงไม่มีปัญหาเรื่องฝนกรด แต่ในเมืองใหญ่อย่างกรุงเทพมหานครซึ่งมีจำนวนรถมาก มีตึกสูง อากาศถ่ายเทไม่สะดวก จากการวัดค่าพีเอชสามารถวัดได้ 4.9 และทำให้มีแนวโน้มเกิดฝนกรดมากขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม จะไม่มีการเกิดฝนกรดตลอดเวลาแต่มักเกิดเป็นบางช่วงบางเวลา ถ้าช่วงเวลาใดมีลมพัดผ่านอากาศถ่ายเทสะดวกก็จะทำให้เจือจางลง แต่หากช่วงเวลาใดมีสภาวะอย่างที่กล่าวมาข้างต้นก็จะทำให้เกิดฝนกรดได้

ฝนกรดจากมลพิษในอากาศอาจส่งผลกระทบต่อร่างกายของแต่ละคนไม่เท่ากัน บางคนผิวหนังบอบบางเมื่อโดนฝนกรดเล็กน้อยก็จะเกิดอาการแพ้หรือเกิดผื่นคันและถ้ามีความเป็นกรดสูงจะมีผลทำให้ผิวหนังส่วนที่บอบบางที่สุดเกิดการระคายเคือง เช่น ตามเนื้อเยื่ออ่อน ๆ เปลือกตา ทำให้มีอาการแสบตาและคันตามผิวหนัง ซึ่งการเกิดฝนกรดนี้มีผลกระทบต่อสุขภาพของมนุษย์น้อยมาก แต่สิ่งที่ได้ รับผลกระทบจริง ๆ คือ ดิน พืชไร่ แหล่งน้ำ ต้นไม้ สัตว์น้ำและที่อยู่อาศัยของมนุษย์





ผลกระทบที่มีต่อดิน ก็คือ ฝนกรดจะไปทำการชะล้างละลายปุ๋ยและสารอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืชออกไป ทำให้มีการเจริญเติบโตช้าและแห้งกรอบล้ม ตายในเวลาต่อมา นอกจากนี้ยังไปละลายสารพิษที่อยู่ในดิน เช่น อะลูมิเนียมและปรอทไหลลงสู่แหล่งน้ำก่อให้เกิดอันตรายต่อสัตว์น้ำที่อยู่อาศัยในน้ำ ทำให้ไม่สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้จึงเกิดการล้มตายและถือเป็นการทำลายระบบนิเวศในน้ำด้วย

ส่วนผลกระทบต่อต้นไม้ ที่นอกจากสารอาหารในดินจะถูกชะล้างไปแล้วฝนกรดยังเป็นอันตรายต่อใบ ของพืช โดยจะถูกกัดกร่อนใบ ทำให้เป็นรูโหว่ จนขาดความสามารถในการผลิตอาหารจากการสังเคราะห์ด้วยแสงและมีเชื้อโรคต่าง ๆ ผ่านเข้า ทางแผลของใบ ทำให้ต้นไม้อ่อนแอและล้มตายในที่สุด สำหรับผลกระทบที่มีต่อสิ่งปลูกสร้างของมนุษย์ สิ่งที่ตามมาคือ ปัญหาเกิดปลวกขึ้นตามไม้จากสิ่งปลูกสร้างของมนุษย์ ฝนกรดอาจสร้างความรุนแรงต่อสิ่งปลูกสร้างของมนุษย์ โดยสิ่งที่ชัดเจนที่สุดคือ ปูนที่ถูกฝนกรดจะละลายออกมาทำให้เกิดความเสียหายจนบางครั้งไม่สามารถซ่อมแซมได้และสุดท้าย ผลกระทบต่อสุขภาพของมนุษย์จะรุนแรงในด้านทางเดินหายใจ โดยในอากาศ กรดเหล่านี้อาจไปรวมตัวกับสารเคมีอื่น ๆ ก่อให้เกิดหมอกควันที่เป็นอันตรายต่อระบบทางเดินหายใจและทำให้หายใจลำบาก โดยเฉพาะกับคนที่เป็นโรคหอบหืด หรือโรคทางเดินหายใจอยู่แล้ว

เราสามารถสังเกตฝนกรดด้วยวิธีง่าย ๆ โดยการ ปีนขึ้นไปดูหลังคาบ้านแล้วเปรียบเทียบกับหลังคาบ้านเขตอื่น ๆ หากฝนมีกรดมากสารพิษจะกัดกร่อนให้หลังคาบ้านผุและพังเร็ว เช่น บ้านที่อยู่ใกล้เขตอุตสาหกรรมหลังคาจะมีการผุเร็วกว่าที่อื่นและหากเราจะดื่มน้ำฝนควรหลีกเลี่ยงน้ำฝนที่ตกในพื้นที่ที่มีแหล่งอุตสาหกรรมหรือในเมือง โดยเฉพาะในกรุงเทพฯ ไม่ควรรองน้ำฝนมาดื่มกิน ซึ่งในปัจจุบันมีน้ำประปาสามารถดื่มกินได้แล้ว ควรจะดื่มน้ำประปาจะดีกว่า แต่ถ้าต้องการดื่มต้องรอให้ฝนตกหนักประมาณ 3-4 วันติดต่อกันเสียก่อนแล้วจึงค่อยกรองน้ำฝนมาดื่มกินเพราะฝนที่ตกลงมาวันแรกยังมีสารพิษเจือปนอยู่
อ่านต่อ...